หมึก
Cuttlefish,Octopus
เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย
คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง
หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล
ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น
หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย
นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น
สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีเขียว
หมึกหอม
Bigfin reef squid,Soft cuttlefish
หมึกหอม หรือ หมึกตะเภา (อังกฤษ: Bigfin reef squid, Soft cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepioteuthis lessoniana) หมึกหอมหรือหมึกตะเภา แม้จะได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Cuttlefish ซึ่งหมายถึง หมึกกระดอง แต่แท้ที่จริงแล้ว หมึกหอมเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย มีลำตัวทรงกระบอก มีขนาดความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดเรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบหรือแพนข้างตัวทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะกว้างและแบนยาวเกือบตลอดลำตัวคล้ายหมึกในอันดับหมึกกระดอง กระดองของหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดอง หนวดรอบปากมี 10 เส้น เป็นแขน 8 เส้น มีหนวดคู่ยาว 2 เส้น ที่ลำตัวมีจุดสีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วไป นัยน์ตามีสีเขียว ชอบรวมกลุ่มอยู่เป็นฝูง กินสิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยสามารถกินอาหารได้มากถึง 30 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัว
พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงหน้าดิน นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยการปรุงสด เนื่องจากหากินในเวลากลางคืน ชาวประมงจึงมักจับในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อ หมึกหอมสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ พฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน หลังจากการผสมพันธุ์ 1 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ โดยที่เพศผู้คอยว่ายน้ำ ดูแลอยู่ใกล้ ๆ ไข่ของหมึกหอมมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม ติดกันเป็นพวง มีความดกของไข่เฉลี่ย 486-2,186 ฟอง ใช้ระยะเวลา ในการฟัก 2-3 สัปดาห์ มีความยาวลำตัวแรกฟัก 0.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม รูปร่างคล้ายกับหมึกตัวเต็มวัย
ปลา
F i s h
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย
ปลากระเบนโปลกาด๊อท
Xingu river ray
มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ราว 43 เซนติเมตร
พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำซิงกู ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำอเมซอน ในประเทศบราซิลเท่านั้น
ได้รับความนิยมในฐานะเป็นปลาสวยงาม โดยมีรหัสทางการค้าว่า P13 ซึ่งผู้เลี้ยงมักนิยมเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่และเลี้ยงรวมกันหลายตัว และสามารถผสมพันธุ์กันออกลูกในที่เลี้ยงได้ อายุเมื่อปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์คือ 5 ปี และยังสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุลเดียวกันได้ด้วย เช่น ปลากระเบนโมโตโร่ (P. motoro) ทำให้เกิดลูกปลาสายพันธุ์ใหม่ที่จะได้จุดและสีสันลำตัวแปลกออกไป ส่วนสถานะปลาในธรรมชาตินั้นใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากสูญเสียที่อยู่อาศัย
สำหรับในวงการปลาสวยงาม ปลาในตัวที่มีจุดสีขาวมากกว่าปกติ โดยมีจุดรอบขอบครีบถึง 3 แถว เรียกว่า "แบล็คไดมอนด์" เป็นปลาที่ในธรรมชาติ จะพบได้ที่แม่น้ำเซาเฟลิก ในเขตประเทศบราซิล มีราคาซื้อขายแพงกว่าปลากระเบนโปลกาด็อทธรรมดามาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น